เขากวางอ่อน / -

ประวัติการค้นพบ: ถูกตั้งชื่อครั้งแรกโดย Jacob Gijsbert Samuel van Breda (1788-1867) นักพฤกษศาสตร์และนักบรรพชีวินวิทยาชาวดัตช์ ต่อมา Carl(Karl) Ludwig von Blume (1796-1862) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน-ดัตช์ และ Heinrich Gustav Reichenbach (1824-1889) นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ได้ย้ายพืชชนิดนี้และเปลี่ยนชื่อเป็น Phalaenopsis cornu-cervi โดยตีพิมพ์ทีลงในวารสาร Hamburger Garten- und Blumenzeitung ในปี 1860 ที่มาชื่อไทย: เนื่องจากมีลักษณะช่อของดกคล้ายเขากวาง ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: กล้วยไม้อิงอาศัย ลำต้นสั้น ใบ รูปรีแกมขอบขนาน กว้าง 4 ซม. ยาว 8-10 ซม. ช่อดอก ออกตามซอกใบ แกนช่อเป็นแผ่นแบนสีเขียว ยาว 10-12 ซม. ขอบหยัก ดอกบานเต็มที่กว้าง 3 ซม. ผิวมัน กลีบเลี้ยงและกลีบดอกสีเหลืองแกมเขียว หรือมีขีดตามขวางสีม่วงแดง กลีบปากสีเหลืองอ่อน หรือสีขาว [1] นิเวศวิทยา: พบตามป่าเบญจพรรณและป่าดิบชื้น ทุกภาคของประเทศ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม [1] การกระจายพันธุ์: อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม เกาะนิโคบาร์ มาเลเซีย เกาะชวา เกาะบอร์เนียว เกาะสุมาตรา ฟิลิปปินส์ [2] เอกสารอ้างอิง: [1] https://www.qsbg.org/Database/Botanic_Book%20full%20option/search_detail.asp?botanic_id=2009 [2] https://www.orchidspecies.com/phalcoruucervi.htm


ชื่อวิทยาศาสตร์ = Phalaenopsis cornu-cervi (Breda) Blume & Rchb. f.

ชื่อท้องถิ่น = -

สถานที่เก็บตัวอย่าง/แหล่งอาศัย/ถิ่นที่อยู่ = ชายฝั่ง